วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

จุดเด่นของ E-Commerce

    จุดเด่นของ  E-commerce  ก็มีหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น สามารถทำการค้า-ขาย ตลอด 24 ชม.  ทั้งยังประหยัด ไม่ต้องใช้เวลาติดต่อกันไม่มาก  ถ้าจะสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้ 
1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง
2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก
3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก



E-commerce คืออะไร


    E-Commerce มีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยความหมายของคำว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ให้คำนิยามไว้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีคำจำกัดความใดที่ใช้เป็นคำอธิบายไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีดังนี้
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2542)”
   “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO, 1998)
   “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997)
   จากความหมายของ e-business กับ e-commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความหมายต่างกัน
   โดย
 e-business สรุปความหมายได้ว่าคือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า 
    แต่ e-commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น 
จึงสรุปได้ว่า e-commerce เป็นส่วนหนึ่งของ e-business
    โดยมีตัวอย่างเว็บไซต์ ดังรูปภาพนี้



รูปภาพตัวอย่างเว็บไซต์   E-Commerce 



ประเภทของ E-Commerce   

1. ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)
    คือ การค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้า ซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
2. ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) 
    คือ การค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้า ซึ่งจะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น
3. ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C)
    คือ การติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสอง เป็นต้น
4. ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) 
    คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
5. ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)
    คือ การบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่น การคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

ภาพแสดงความสัมพันธ์ในระบบการค้าอิเล็กทรอนิค E-Commerce 

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ  นางสาวนิษา  บรรลือทรัพย์
ชื่อเล่น  นก อายุ 21 ปี
ว/ด/ป เกิด  31 กรกฎาคม พ.ศ.2537
สัญชาติ ไทย     เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ
ที่อยู่ 17 หมู่ 4 ตำบลธาตุ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ 33270
โทร. 087-2468633
อีเมล์ Nisabanlesab@gmail.com
คติประจำใจ   อย่าพึ่งท้อแท้ถ้าพ่อแม่ยังไม่สบาย
 งานอดิเรก   ฟังเพลง  ดูหนัง  
ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ
ระดับการศึกษา  ปริญญาตรีปี  1   สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์